โครงการจัดกิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติ วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ ๑๙
เรื่อง “พุทธวิถีสู่การสร้างความไว้วางใจและความสามัคคี”
(The Buddhist Way of Building Trust and Solidarity)
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษา
ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ

๑. ชื่อโครงการ

โครงการจัดกิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติ วันสำคัญสากลของโลกครั้งที่ ๑๙ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๗ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษา

๒. ความสอดคล้อง

เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์ที่ ๔ “บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนา เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน วัด ชุมชน ท้องถิ่น และสังคมให้เกิดสันติสุข”

๓. ลักษณะโครงการ

เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์ที่ ๔ “บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนา เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน วัด ชุมชน ท้องถิ่น และสังคมให้เกิดสันติสุข”

๔. หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ องค์การสหประชาชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ ๕๔ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ และกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมในวันดังกล่าว ณ สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา ในเดือนพฤษภาคมของทุกปี ประเทศไทยโดยคณะสงฆ์ รัฐบาล และประชาชน จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองในวันดังกล่าวมาตลอดทุกปีมิได้ขาดจนถึงปัจจุบันทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยมีสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก ที่เรียกว่า ICDV หรือ International Council for the Day of Vesak ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยาเป็นองค์กรรับผิดชอบในการจัดกิจกรรมนานาชาติร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
การจัดงานวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ ๑๙ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๗ นี้ เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ คณะกรรมการจัดงาน ได้มีฉันทามติร่วมกันจัดงานวันวิสาขบูชาโลก ครั้ง ๑๙ ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เพื่อดำเนินกิจกรรมเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก โดยกำหนดเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๑,๒๐๐ รูป/คน จาก ๘๔ ประเทศ โดยมีการจัดงาน ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร
การจัดงานวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ ๑๙ นี้ ได้กำหนดหัวข้อในการจัดงานสัมมนา เรื่อง “พุทธวิถีสู่การสร้างความไว้วางใจและความสามัคคี” (The Buddhist Way of Building Trust and Solidarity) และได้กำหนดหัวข้อสัมมนากลุ่มย่อยขึ้น ๓ กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มย่อยที่ ๑ เรื่อง การประยุกต์ใช้การเจริญสติเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Application of Buddhist Mindfulness for Health and Wellbeing)
กลุ่มย่อยที่ ๒ เรื่อง พุทธวิถีสู่ความไว้วางใจและความร่วมมือระดับโลก” (Buddhist Path to Trust and Global Partnership)
กลุ่มย่อยที่ ๓ เรื่อง พุทธศึกษาเพื่อความสามัคคีของสังคม (Relevance of Buddhist Education for Harmonious Society)
พร้อมกันนี้ มหาเถรสมาคม ยังได้มีมติให้จัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ โดยได้มอบหมายให้ พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV) อุปนายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เป็นประธานอนุกรรมการแปลพระไตรปิฏกเป็นภาษาอังกฤษ จำนวน ๔๕ เล่ม และคณะอนุกรรมการดังกล่าวมีมติให้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version) เป็นกิจกรรมหนึ่งของการจัดกิจกรรมนานาชาติเนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ ๑๙ ประจำปี ๒๕๖๗ นี้ด้วย

๕. ผู้รับผิดชอบโครงการ

๕.๑ รัฐบาลไทย และคณะสงฆ์ไทย ซึ่งรัฐบาลแต่งตั้งจากผู้แทนคณะสงฆ์ ส่วนราชการ องค์กรเอกชน และอื่นๆ
๕.๒  คณะกรรมการสมาคมสภาสากลวิสาขบูชาโลก และคณะกรรมการมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ มีหน้าที่ในการกำหนดกรอบทิศทางในการจัดงานวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ประจำปี ๒๕๖๗
๕.๓  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รับดำเนินการจัดกิจกรรมนานาชาติ
๕.๔  สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย รับดำเนินการจัดกิจกรรม ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร 

๖. วัตถุประสงค์

๖.๑ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษา
๖.๒ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก
๖.๓ เพื่อสร้างความร่วมมืออันดีระหว่างชุมชนชาวพุทธและองค์กรชาวพุทธตั้งแต่ระดับประเทศถึงนานาชาติตามนโยบายของรัฐบาล
๖.๔ เพื่อร่วมกันสร้างทางเลือกในการประยุกต์ใช้พระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติ
๖.๕ เพื่อร่วมกันประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นอารยธรรมสำคัญของโลกผ่านกิจกรรมทางวิชาการ ศาสนพิธีและวิถีชีวิตชุมชน
๖.๖ เพื่อจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version)

๗. ลักษณะกิจกรรม

๗.๑ การประชุมร่วมกันของผู้นำชาวพุทธ และนักวิชาการ ๘๔ ประเทศทั่วโลก
๗.๒ การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการจัดทำพระไตรปิฎก (ฉบับภาษาอังกฤษ) ระหว่างผู้แปลและบรรณาธิการชาวต่างประเทศและชาวไทย
๗.๓ การกล่าวสุนทรพจน์ Keynote Speech
๗.๔ การอ่านสาส์นของบุคคลสำคัญและผู้นำชาวพุทธ
๗.๕ การเข้าร่วมงานของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และทูตานุทูต จากประเทศไทยและต่างประเทศ
๗.๖ การสัมมนาทางวิชาการนานาชาติ ๓ หัวข้อย่อย
๗.๗ การร่วมชุมนุมของผู้นำชาวพุทธ ผู้นำการเมืองและนักวิชาการที่สหประชาชาติและการ
ประกาศปฏิญญากรุงเทพฯ

๘. เป้าหมายผลผลิต


๘.๑ เป้าหมายเชิงคุณภาพ

          ได้ร่วมเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล สหประชาชาติ พร้อมกับสำนักงานใหญ่ สหประชาชาติ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว อันแสดงถึงความร่วมมืออันดีของชุมชนชาวพุทธและองค์กรชาวพุทธทั่วโลกตั้งแต่ระดับประเทศถึงระดับนานาชาติ และได้ร่วมกันประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นอารยธรรมสำคัญของโลกผ่านกิจกรรมทางวิชาการ ศาสนพิธีและวิถีชีวิตชุมชนไปสู่เวทีโลก

๘.๒ เป้าหมายเชิงปริมาณ

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและประชุมวิชาการพระพุทธศาสนานานาชาติ จาก ๗๓ ประเทศ จำนวน ๑,๓๐๐ รูป/คน ดังนี้ 

 ๘.๒.๑ ผู้นำ นักวิชาการ และนักปราชญ์ด้านพระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานจาก ต่างประเทศ ๒๐๐ รูป/คน
๘.๒.๒ ผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างประเทศ ๔๐๐  รูป/คน
๘.๒.๓ ผู้แทนมหาเถรสมาคม พระเถรานุเถระเจ้าคณะพระสังฆาธิการ  ๕๐  รูป/คน
๘.๒.๔ ผู้แปลและบรรณาธิการชาวต่างประเทศและไทย ๕๐ รูป/คน
๘.๒.๕ คณะรัฐมนตรี ทูตานุทูต นักวิชาการ ด้านพระพุทธศาสนาและผู้แทนองค์กรชาวพุทธ จากประเทศไทย ๕๐  รูป/คน
 ๘.๒.๖ พุทธศาสนิกชนจาประเทศไทย ๓๐๐  คน
 ๘.๒.๗ สื่อมวลชนจากประเทศไทยและต่างประเทศ ๕๐  คน
 ๘.๒.๘ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ๒๐๐  รูป/คน 

๘.๓ เป้าหมายเชิงเวลา

       ระยะเวลาในการจัดงาน ดังนี้

วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย พระนครศรีอยุธยา 

– พิธีเปิดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาวันสําคัญสากลของโลก ประจําปี ๒๕๖๗ ประจำประเทศไทย

– ปาฐกถาพิเศษ (Keynote Speech)

– การถ่ายภาพหมู่ 

– การสัมมนาทางวิชาการระดับ

วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร

– พิธีอ่านสาส์นวิสาขะ จากผู้นำชาวพุทธทั่วโลก

– การสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติ หัวข้อย่อย

– ปฏิญญาวิสาขะ ประจำปี ๒๕๖๗

– นำเสนอผลสรุปการสัมมนาหัวข้อย่อยทางวิชาการ 

– พิธีปิดการฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ

– พิธีธรรมยาตรา และเวียนเทียน ณ ลานหน้าองค์พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

นานาชาติ หัวข้อย่อย ๓ หัวข้อ

๙. แหล่งที่มาของงบประมาณ

๙.๑ รัฐบาลไทย
๙.๒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๙.๓ สมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV)
๙.๔ สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ
๙.๕ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

๑๐. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑๐.๑ ได้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษ
๑๐.๒ ได้ร่วมเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล สหประชาชาติ พร้อมกับสำนักงานใหญ่ สหประชาชาติ
๑๐.๓ มีความร่วมมืออันดีของชุมชนชาวพุทธและองค์กรชาวพุทธทั่วโลกตั้งแต่ระดับประเทศถึงนานาชาติตามนโยบายของรัฐบาล
๑๐.๔ ได้ร่วมกันประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นอารยธรรมสำคัญของโลกผ่านกิจกรรมทางวิชาการ ศาสนพิธีและวิถีชีวิตชุมชนไปสู่เวทีโลก